วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติระหว่าง ไทย-ลาว

แผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติระหว่าง ไทย-ลาว


          หนังสือ บก.ปคม. ที่ ๐๐๒๖.๘๐๕/๒๔๙๕ ลง ๕ ก.ย. ๒๕๕๖ แจ้งว่า บก.ปคม. เป็นตัวแทนของ ตร. เข้าร่วมประชุมคณะทำงานร่วม ไทย-ลาว ว่าด้วยความร่วมมือด้านกิจการตำรวจ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๖ และออกแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติระหว่าง ไทย-ลาว


          บก.ปคม. ได้ส่งแผนปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติระหว่าง ไทย-ลาว

เห็นควรแจ้ง ภ.จว.ในสังกัด,บก.สส.ภ.๓ และศพดส.ภ.๓ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการปฏิบัติราชการต่อไป

วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2556

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๔๖ และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ ๔๖ และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

สลค. มีหนังสือ  ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๕๐๖/ว(ล) ๒๒๓๙๕ ลง ๒๓ ส.ค. ๕๖  แจ้งกรณี ครม.มีมติ  เมื่อวันที่ ๒๐ ส.ค. ๕๖  รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน  ครั้งที่ ๔๖  และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามตารางติดตามผลการประชุมฯ ตามที่ กต. เสนอ  โดยมีรายละเอียดที่ ตร.  ต้องรับผิดชอบและดำเนินการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ  ตามตารางการดำเนินการ  ดังนี้
  ๒.๑ ข้อ ๑๑ เรื่องการปราบปรามยาเสพติด  ซึ่งไทยได้เสนอให้อาเซียนเพิ่มความร่วมมือเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวกรองเกี่ยวกับผู้ค้ายาเสพติดในภูมิภาค  และสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้  เพื่อช่วยสกัดกั้นเครือข่ายค้ายาเสพติดในภูมิภาคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
๒.๒ ข้อ ๑๒ เรื่องการแก้ไขปัญหาการเดินทางข้ามแดนผิดกฎหมายซึ่งไทยได้เสนอให้มีความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างหน่วยงานด้านชายแดน  และการตรวจคนเข้าเมืองในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการพิสูจน์ตัวบุคคล  ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องการเดินข้ามแดนผิดกฎหมาย  และการค้ามนุษย์ในภูมิภาค  และไทยยังได้ผลักดันให้แคนาดาแบ่งปันประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการข้ามแดน เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของอาเซียนในการรับมือกับผลกระทบทางลบจากความเชื่อมโยง  เช่น อาชญากรรมข้ามชาติ  โรคติดต่อ  และปัญหาสิ่งแวดล้อมข้ามแดน
๒.๓ ข้อ ๑๙ เรื่องการสร้างความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน  ซึ่งไทยเสนอให้ออสเตรเลียแบ่งปันประสบการณ์ในการจัดการผลกระทบด้านลบจากการเชื่อมโยง  โดยเฉพาะการลักลอบค้ามนุษย์  และยาเสพติด  ซึ่งเป็นความท้าทายร่วมกันของอาเซียนและออสเตรเลีย  และอาเซียนเห็นพ้องถึงความจำเป็นที่จะต้องระดมทุนจากคู่เจรจาและประเทศนอกจากภูมิภาคในการพัฒนาโดยสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ ๒

 การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ ๒

 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี  มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ นร ๐๔๐๒/ว.๖๕๐๗ ลง ๑๐ พ.ค. ๕๖ เรื่อง การประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมอย่างไม่เป็นทางการไทย-ลาว ครั้งที่ ๒ ในวันอาทิตย์ ที่ ๑๙  พ.ค. ๕๖  เวลา ๑๐.๐๐ น. ณ   โรงแรม เลอ  เมอริเดียน  จว.เชียงใหม่ และมีมติเมื่อ ๒ ก.ค. ๕๖  มอบหมายหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อติดตามผลการประชุมฯ



 เพื่อติดตามผลการประชุมฯ ดังกล่าว (เอกสาร ๔)  ตามตารางติดตามผลการหารือฯ และมอบหมายหน่วยงานต่างๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ภ.๓  ดังนี้ (เอกสาร ๕)
การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
 - ร่วมกับลาวกระชับความร่วมมือในการแก้ปัญหายาเสพติด  แลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างใกล้ชิดและทันเหตุการณ์  เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจตรา  สกัดกั้นยาเสพติด  โดยเฉพาะตามสะพานมิตรภาพต่างๆ  และพื้นที่อื่นๆ ที่เหมาะสม
 - เร่งรัดให้ฝ่ายลาวเข้มงวดในการตรวจตรายาเสพติดบริเวณบ่อนการพนันคิงส์โรมัน
 - ขยายการติดต่อประสานงานของสำนักงานประสานงานชายแดน (Border Liaison Office-BLO) ระหว่างแขวงของลาวและจังหวัดของไทย  และจับคู่จังหวัดเพื่อแก้ปัญหายาเสพติด  เช่น  แขวงเวียงจันทน์ - จว.เลย , แขวงสาละวัน - จว.อุบลราชธานี


 สามารถดาวน์โหลดเอกสารประกอบได้ที่นี่ค่ะ

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผลการประชุมระหว่างไทย - กัมพูชา

ผลการประชุมระหว่างไทย - กัมพูชา เรื่องการลาดตระเวนร่วมเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้บริเวณแนวชายแดน

ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้จัดการประชุมเตรียมการกับหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการประชุมระหว่างไทย – กัมพูชา เมื่อ ๑ พ.ค. ๕๖ ณ ห้องประชุม ๓ กต. โดยที่ประชุมเห็นพ้องแนวทางและรูปแบบการลาดตระเวนร่วม สรุปได้ดังนี้

๑. ให้มีการประสานงานการลาดตระเวนร่วม (Coordinated Patrol) โดยการลาดตระเวนนี้ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนระหว่างสองประเทศ
๒. ให้ปรับใช้แนวปฏิบัติมาตรฐาน (SOP) ในการลาดตระเวนด้านชายแดนไทย – มาเลเซีย
๓. ส่งเสริมโครงการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาอาชีพให้แก่ประชาชนชาวกัมพูชา

----------------------------------------------------------------------------



การประชุมระหว่างไทย – กัมพูชา เรื่องการลาดตระเวนร่วมฯ เมื่อ ๘ พ.ค. ๕๖ ณ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองปอยเปต จว.บันเตียเมียนเจย ราชอาณาจักรกัมพูชา สรุปได้ ดังนี้

๑. การตั้งคณะกรรมการ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้จัดตั้งคณะกรรมการ เพื่อดูแลการดำเนินการ เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้พะยูงใน ๒ ระดับ ดังนี้
๑.๑ คณะกรรมการระดับประเทศ ให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายไทย และนายแอม ซามาน รมช.มท. กัมพูชา เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายกัมพูชา โดยคณะกรรมการทั้งสองฝ่ายจะจัดการประชุม ปีละ ๑ – ๒ ครั้ง หรือตามความจำเป็น และมีหน้าที่กำหนดกรอบในการปฏิบัติงานเพื่อป้องกันการลักลอบ ตัดไม้พะยูงบริเวณแนวชายแดนไทย – กัมพูชา
๑.๒ คณะอนุกรรมการระดับจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด บริเวณแนวชายแดนไทย – กัมพูชา เป็นประธานอนุกรรมการฝ่ายไทย ทำหน้าที่นำกรอบการปฏิบัติงาน ของคณะกรรมการระดับประเทศ มาปรับใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ที่รับผิดชอบ รวมทั้งเป็นช่องทางติดต่อประสานงานในพื้นที่ชายแดนระหว่างกัน
  ๒. การลาดตระเวนโดยมีการประสานงาน (Coordinated Patrol) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในหลักของการลาดตระเวน ต้องไม่มีนัยเกี่ยวกับเขตแดนระหว่างสองประเทศ โดยต้องมีการประสานงานกันและห่างจากเขตแดนในระยะที่เหมาะสม ภายในเขตอธิปไตยของแต่ละประเทศ

ทั้งนี้  เอกสารผลการประชุม สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ค่ะ


วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รายงานการประชุม Action Plan


มติที่ประชุม  เพื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการ (Action plan) การขับเคลื่อนการปฏิบัติในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ของ ตร. ได้ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการฯ (Action plan) ของ ตร. โดย ผบ.ตร.  ได้สั่งการให้ฝ่ายเลขานุการฯ  จัดกลุ่มการปฏิบัติการตามแผน  พร้อมทั้งกำหนดเจ้าภาพให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการปฏิบัติ
สามารถดาวโหลดเอกสารได้ที่นี่่ค่ะ

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพนักงานสอบสวน

ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๙ ส.ค. ๒๕๕๕ ได้มอบหมายภารกิจหลักตามยุทธศาสตร์ ตร. ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้ สบส. เป็นเจ้าภาพหลักรับผิดชอบภารกิจที่ ๑๐ การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการอำนวยความยุติธรรม สบส. ได้จัดทำโครงการเตรียมความพร้อม พงส. เข้าสู่ประชาคมอาเซียน และได้จัดทำคู่มือการเตรียมความพร้อมของพนักงานสอบสวนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยรวบรวมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และกฎหมายที่ พงส. ควรรู้เพิ่มเติมในการปฏิบัติงานกับคนต่างชาติ



โดยสามารถดาวน์โหลดคู่มือความรู้เบื้องต้นในการการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของพนักงานสอบสวนได้ ที่นี่ ค่ะ

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

สำรวจข้อมูลป้าย/แผนผัง/ขั้นตอนการให้บริการที่จำเป็นต้องจัดทำเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับสถานีตำรวจและหน่วยบริการประชาชน

ตามที่ ตร.ได้กำหนดให้หน่วยรับผิดชอบหลักตามแผน/โครงการรองรับการเข้า สู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ จัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) การขับเคลื่อนการปฏิบัติในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี ๒๕๕๘ ของ ตร. โดยกำหนดให้ สยศ.ตร.(ยศ.),สกบ.,สทส. และ ตท. รับผิดชอบแผนพัฒนากำหนดรูปแบบอาคาร/เอกลักษณ์/มาตฐาน/ป้ายอาคาร/ป้ายบริการ ของสถานีตำรวจ โดยให้ สยศ.ตร. ส่งข้อมูลภาษาไทยให้ ตท. แปลเป็นข้อความภาษาอังกฤษ แล้วส่งให้ สกบ. กำหนดรูปแบบป้าย และให้ สทส.นำข้อมูลไปจัดทำในรูปแบบสารสนเทศ เพื่อให้สถานีตำรวจติดตั้งให้ประชาชนผู้รับบริการ สามารถสืบค้นข้อมูลได้โดยสะดวก






สยศ.ตร.(ยศ.) ได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ส่งให้ ตท. แปลเป็นภาษาอังกฤษ ไปในส่วนหนึ่งแล้ว เพื่อให้มีข้อมูลที่ครบถ้วน เพียงพอต่อการใช้งานของสถานีตำรวจและหน่วยบริการประชาชน ศูนย์อำนวยการเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน/ยศ. แจ้งให้สำรวจว่ายังมีข้อมูลอื่นที่สถานีตำรวจและหน่วยบริการประชาชน จำเป็นจะต้องจัดทำเป็นภาษาอังกฤษเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เพิ่มเติมอีกหรือไม่ และหากมีให้จัดส่งข้อมูลให้ สยศ.ตร. ภายในวันที่ ๒๕ เม.ย. ๒๕๕๖

โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูลป้าย/แผนผังได้ ที่นี่ ค่ะ


วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

คำทักทายในกลุ่มประเทศอาเซียน

คำทักทายในกลุ่มประเทศอาเซียน
 คําทักทายอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ ลองฝึกซ้อมเอาไว้นะครับ เวลาพบเจอกันจะได้ทักทายกันได้คล่องแคล่ว









ถ้าฝึกพูดกันคล่องแล้วเวลาเจอหน้ากัน อย่าลืมทักทายกันเป็นภาษาอาเซียนนะคร้าบบบบ


มรดกโลกในอาเซียน

ทุกพื้นที่บนโลกใบนี้ ล้วนมีร่องรอยของวัฒนธรรมและความงดงามของธรรมชาติที่อยู่คู่กับโลกมานานแสนนาน และหลายแห่งก็เป็นมรดกอันทรงคุณค่าที่มีความหมายต่อโลกและผู้คนในพื้นที่ ด้วยเหตุนี้ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก จึงได้มีการประกาศพื้นที่มรดกโลกขึ้นมาหลายแห่ง เพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์พื้นที่เหล่านี้ไม่ให้ถูกทำลายไปตามกาลเวลา โดยในปัจจุบัน มีสิ่งก่อสร้างทางวัฒนธรรม และพื้นที่ทางธรรมชาติได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกแล้วทั้งสิ้น 962 แห่งด้วยกัน

          แต่ในทุกวันนี้ที่ประชาคมอาเซียนกำลังเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงได้ไม่เว้นวัน หลังจากมีข้อตกลงในการรวมประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ประเทศ ให้กลายเป็นประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2558 วันนี้กระปุกดอทคอม จึงขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับมรดกโลกในอาเซียนมาฝากกัน ซึ่งมีทั้งหมด 33 แห่งจาก 7 ประเทศดังต่อไปนี้













 ทั้งนี้ แม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนจะมีทั้งหมด 10 ประเทศ แต่ประเทศที่มีพื้นที่ที่เป็นมรดกโลกมีเพียง 7 ประเทศตามรายชื่อข้างต้นเท่านั้น ส่วนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ บรูไน พม่า สิงคโปร์ นั้น ไม่มีพื้นที่ที่ถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมแต่อย่างใด


อาหารประจำชาติในแต่ละประเทศของอาเซียน

ปี 2015 หรือปี พ.ศ. 2558 อาเซียนจะรวมเป็นหนึ่งเดียว ดังงนั้น เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับของกิน ของแต่ละประเทศเพื่อนบ้านของเราใน อาเซียนกันดีกว่านะคะ เริ่มที่ประเทศบรุไนก่อนเลยนะคะ











อย่าลืมกลับมาติดตามกันอีกนะคะ ว่าครั้งต่อไปเราจะนำความรู้เรื่องอะไรมาเล่าให้ฟัง


อาชีพเสรีใน 10 ประเทศอาเซียน