วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

พัฒนาตำรวจ ลุยปรับกระบวนสู่ประชาคมอาเซียน


4 ยุทธศาสตร์ 10 ภารกิจพัฒนาตำรวจ ลุยปรับกระบวนสู่ประชาคมอาเซียน



          นอกจากคนไทยจะต้องเตรียมพร้อมการเปลี่ยนแปลงเมื่อประเทศสมาชิกอาเซียนจะรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 แล้ว ขณะนี้จะเห็นว่าบรรดาเกือบทุกหน่วยงานราชการ ต่างเร่งปรับปรุงและพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมรับมือกับสิ่งต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน!!
            ประชาคมอาเซียน จะมีความเป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้ความเชื่อมโยง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1. ความเชื่อมโยงด้านโครง สร้างพื้นฐาน (การคมนาคมขนส่งและการติดต่อสื่อสาร) 2. ความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบ (การขนส่ง การค้า การลงทุน และการบริการ) 3. ความเชื่อมโยงด้านประชา ชน (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมและการเคลื่อนย้ายของประชาชน) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) เป็นอีกหนึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง นอกจากนี้ก็ยังเป็นอีกหน่วยงานที่จะมีบทบาทสำคัญหากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
4 ยุทธศาสตร์ 
           ยุทธศาสตร์ที่ 1. คือการบริหารจัดการชายแดนและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทุกรูปแบบเพื่อความมั่นคงของประเทศ
           ยุทธศาสตร์ที่ 2. การสร้างความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยว การบริการและการลงทุนกับประเทศในสมาชิกอาเซียน
           ยุทธศาสตร์ที่ 3. การสร้างความร่วมมือด้านการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทั้งในและนอกอาเซียน
           ยุทธศาสตร์ที่ 4. ด้านการบริหารจัดการและการพัฒนาองค์กร

10 ภารกิจ 
           1. การเฝ้าระวังตามแนวชายแดนและคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
           2. การพัฒนาศักยภาพการตรวจคนเข้าเมืองเพื่อรองรับความเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่ง การเปิดเสรีทางการค้าและการท่องเที่ยว
           3. การรักษาความปลอดภัยระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งในพื้นที่ชั้นใน
           4. การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
           5. การสื่อสารและประชา สัมพันธ์
           6. การให้บริการและอำนวยความสะดวกด้านการท่องเที่ยว
           7. การพัฒนากลไกความร่วมมือกับหน่วยงานตำรวจในอาเซียนและหน่วยงานความมั่นคงอื่น
           8. การพัฒนาโครง สร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
           9. การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียนและการพัฒนาทักษะข้าราชการตำรวจ
           10. การป้องกันปราบปรามอาชญากรรมและการอำนวยการยุติธรรม

ขอบคุณที่มาจาก : เว็บไซต์ dailynews.co.th

ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 4 )

ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 4 )





         หากประชาชนหรือข้าราชการตำรวจท่านใดสนใจ ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ตามลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ

ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 3 )

ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 3 )


  


ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 2 )

ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 2 )


   


ป้ายจราจรประเภทเตือน (1)

ป้ายจราจรประเภทเตือน ( 1 )





วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ภาษาอังกฤษที่ควรรู้

ภาษาอังกฤษที่ตำรวจควรรู้



คู่มือภาษาอังกฤษฉบับย่อนี้ จัดทำขึ้นโดยฝ่ายอำนวยการ ๘ กองบังคับการอำนวยการ ตำรวจภูธรภาค ๓ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความรู้ด้านภาษาอังกฤษแก่ข้าราชการตำรวจ รวมถึงประชาชนทั่วไปที่ต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทางด้านภาษา และศัพท์เฉพาะทาง ใครที่สนใจสามารถดาวน์โหลดเก็บไว้ดูได้เลยค่ะ ซึ่งทางฝ่ายอำนวยการ ๘ฯ ของเรา จะได้นำเสนอเป็นตอนๆ ไป อย่าลืมติดตามนะคะ

อาเซียนก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ?

อาเซียนก่อตั้งขึ้นมาเพื่ออะไร ?



           ประเทศผู้ร่วมก่อตั้งเห็นว่าการตั้งองค์กรความร่วมมือระดับภูมิภาคน่าจะมีส่วนช่วยป้องกันการเกิดความขัดแย้ง และส่งเสริมการระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ทั้งนี้ ปฏิญญากรุงเทพฯ กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์สำหรับอาเซียน ๗ ประการ ได้แก่
  ๑. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม
  ๒. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
  ๓. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์
  ๔. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
  ๕. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และการปรับปรุงมาตรฐานการดำรงชีวิต
  ๖. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  ๗. ร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ 

ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน





อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations หรือ ASEAN ) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (The Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๑๐ โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้ง ๕ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ได้ลงนามใน “ปฏิญญากรุงเทพฯ” เพื่อจัดตั้งสมาคมความร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คล้ายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติของระดับภูมิภาคของประเทศต่างๆ ในเอเชีย ในเวลาต่อมาได้มี บรูไนดารุสซาราม สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า และราชอาณาจักรกัมพูชา ทำให้อาเซียนมีสมาชิกครบ ๑๐ ประเทศ